มาตรฐานสหกิจศึกษาของสถานศึกษา

          สถานศึกษาต้องตรวจสอบกับองค์กรวิชาชีพควบคุมด้วยว่าองค์กรวิชาชีพนั้น ๆ นับหน่วยกิต รายวิชาสหกิจศึกษาให้อยู่ในหมวดวิชาเฉพาะด้วยหรือไม่ โดยรายวิชาสหกิจศึกษาต้องมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และสถานศึกษาต้องมีรายวิชาเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปสหกิจศึกษา หรือต้องมีการอบรมเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปสหกิจศึกษาไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง

1. มาตรฐานการเรียนการสอน
 มาตรฐานขั้นต่ำ
      1.1 สถานศึกษาต้องจัดให้มีการปฐมนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา เพื่อชี้แจงให้นักศึกษาได้รับข้อมูล และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสหกิจศึกษา
      1.2 สถานศึกษาต้องมีกระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปปฏิบัติสหกิจศึกษาโดยใช้เวลาไม่ น้อยกว่า 30 ชั่วโมง
      1.3 สถานศึกษาต้องกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขทางวิชาการของนักศึกษาที่สามารถไปปฏิบัติสหกิจ ศึกษา
      1.4 สถานศึกษาต้องกำหนดช่วงเวลาที่นักศึกษาปฏิบัติสหกิจศึกษาไม่ต่ำกว่า 16 สัปดาห์อย่างต่อเนื่องโดยต้องเป็นการปฏิบัติงานเต็มเวลา และไม่สามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่นใดได้ในช่วงปฏิบัติ สหกิจศึกษา
      1.5 สถานศึกษาต้องจัดหางานที่มีลักษณะเป็นโครงงานหรืองานประจำที่ตรงกับสาขาวิชาชีพ และเน้นประสบการณ์การทำงาน
      1.6 สถานศึกษาต้องเปิดโอกาสให้สถานประกอบการได้คัดเลือกนักศึกษา
      1.7 สถานศึกษาต้องเปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกสถานประกอบการตามความสมัครใจ
      1.8 สถานศึกษาต้องทำความตกลงกับสถานประกอบการให้ทุกตำแหน่งงาน มีค่าตอบแทน และสวัสดิการต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและจำเป็นตามลักษณะงาน
      1.9 สถานศึกษาต้องจัดให้มีการนิเทศของคณาจารย์นิเทศ
      1.10 สถานศึกษาต้องจัดให้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษาคณาจารย์นิเทศและ คณาจารย์สาขาวิชา
      1.11 กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการประเมิน และวัดผลและเป็นไปตามมาตรฐานของสถานศึกษานั้น ๆ

2. มาตรฐานการนิเทศ
 มาตรฐานขั้นต่ำ
       2.1 คณาจารย์นิเทศต้องมีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา และผ่านการอบรมการ นิเทศงานโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก สกอ.
       2.2 สถานศึกษาต้องจัดระบบพี่เลี้ยงให้แก่คณาจารย์นิเทศที่ยังไม่มีประสบการณ์การนิเทศ ทั้งนี้ ตามที่ สถานศึกษากำหนด
       2.3 คณาจารย์นิเทศต้องเป็นคณาจารย์ประจำสาขาวิชาที่นักศึกษาสังกัดอยู่
       2.4 สถานศึกษาต้องนัดหมายสถานประกอบการเพื่อให้คณาจารย์นิเทศเข้ามานิเทศนักศึกษา ณ สถาน ประกอบการ
       2.5 คณาจารย์นิเทศต้องได้รับเอกสารประกอบการนิเทศ อาทิ ลักษณะงาน ประวัตินักศึกษา ฯลฯ ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนกำหนดการนิเทศ
       2.6 คณาจารย์นิเทศต้องมีแผนการนิเทศนักศึกษา
       2.7 สถานศึกษาต้องจัดให้คณาจารย์ในสาขาวิชาไปนิเทศงานขณะนักศึกษาปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเป็นการไปพบนักศึกษา ณ สถานประกอบการ
       2.8 ในการนิเทศต้องจัดให้มีการประชุม (พบปะ -หารือ) ระหว่างผู้นิเทศงานกับคณาจารย์นิเทศ นักศึกษากับคณาจารย์นิเทศและประชุมร่วมทั้งสามฝ่าย
       2.9 คณาจารย์นิเทศต้องใช้เวลาในการนิเทศไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง
       2.10 คณาจารย์นิเทศต้องติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษาประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษา ตามความจำเป็นของแต่ละสาขาวิชา

3. มาตรฐานนักศึกษา
  3.1 คุณสมบัติพื้นฐานของนักศึกษาก่อนไปสหกิจศึกษา
 มาตรฐานขั้นต่ำ
     1) นักศึกษาต้องผ่านเงื่อนไขรายวิชาตามที่สถานศึกษากำหนด
     2) นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติที่จะสำเร็จการศึกษาและไม่อยู่ระหว่างการถูกลงโทษทางวินัยโดยให้ อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา
     3) นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปปฏิบัติสหกิจศึกษา
  3.2 กิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างปฏิบัติงาน
 มาตรฐานขั้นต่ำ
     1) นักศึกษาต้องบันทึกรายงานการปฏิบัติงานประจำวันหรือประจำสัปดาห์
     2) นักศึกษาต้องส่งรายงานความก้าวหน้าต่อผู้นิเทศงานและคณาจารย์นิเทศไม่ช้ากว่าสัปดาห์ที่ 10 ของการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
     3) นักศึกษาต้องส่ง (ร่าง) รายงานฉบับสมบูรณ์ให้คณาจารย์นิเทศและผู้นิเทศงานก่อนเสร็จสิ้นการ ปฏิบัติงานและต้องแก้ไขตามที่คณาจารย์นิเทศและผู้นิเทศงานแนะนำให้เรียบร้อย
     4) นักศึกษาต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ได้จากสถานประกอบการให้ คณาจารย์นิเทศและผู้นิเทศงาน

  3.3 คุณภาพรายงานทางวิชาการ
 มาตรฐานขั้นต่ำ
     1) รายงานต้องมีมาตรฐานเช่นเดียวกับรายงานทางวิชาการทั่วไป
  3.4 การร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษา
 มาตรฐานขั้นต่ำ
     1) นักศึกษาต้องนำเสนอผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาในการสัมมนาสหกิจศึกษาระหว่างคณาจารย์ นิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษาและนักศึกษาของแต่ละสาขาวิชาหลังกลับจากปฏิบัติสหกิจศึกษา

4. มาตรฐานการวัดและประเมินผล
 มาตรฐานขั้นต่ำ
  4.1 กระบวนการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนไปสหกิจศึกษานักศึกษา
     1) เวลาเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
     2) ผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด เช่น การสอบ การทำรายงาน

การดำเนินงาน
     1) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ารับการอบรม
     2) การอบรมมีเนื้อหาที่จำเป็นต่อการพัฒนาทักษะอาชีพ
  4.2 กระบวนการจัดหางานที่มีลักษณะเป็นโครงงานหรืองานประจำที่เน้นประสบการณ์การทำงาน และ ตรงกับสาขาวิชา
การดำเนินงาน
     1) จำนวนงานพอเพียงกับจำนวนนักศึกษา
     2) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสถานประกอบการ
  4.3 กระบวนการรับรองคุณภาพงาน
การดำเนินงาน
     1) คณาจารย์ประจำสาขาวิชาพิจารณารับรองงานก่อนให้นักศึกษาเลือก
     2) คณาจารย์ประเมินคุณค่าทางวิชาการของงาน
     3) งานที่นักศึกษาทำมีประโยชน์ต่อสถานประกอบการ
  4.4 กระบวนการคัดเลือกและจับคู่ระหว่างนักศึกษาสหกิจศึกษาและสถานประกอบการ
การดำเนินงาน
     1) นักศึกษาเลือกสถานประกอบการโดยความสมัครใจ
     2) สถานประกอบการมีโอกาสคัดเลือกนักศึกษา
     3) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการคัดเลือกและจับคู่
     4) ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อกระบวนการคัดเลือกและจับคู่
     5) เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติสหกิจศึกษาสถานศึกษาต้องประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ 4.5 กระบวนการนิเทศงานสหกิจศึกษา
นักศึกษา
     1) ความรู้ความสามารถทางวิชาการและการประยุกต์ใช้
     2) การปรับตัวและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ
     3) ความก้าวหน้าของงานเป็นไปตามแผน
     4) การสื่อสารและการนำเสนอผลงาน
     5) ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการทำงานด้วยตนเอง
     6) การนิเทศงานต้องเป็นส่วนหนึ่งของการวัดและประเมินผลรายวิชาสหกิจศึกษา
การดำเนินงาน
     1) ระยะเวลาที่คณาจารย์นิเทศได้รับเอกสารประกอบการนิเทศ
     2) มีการติดตามการนิเทศงาน
     3) ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อกระบวนการติดต่อและประสานงานการนิเทศ คุณภาพการนิเทศงานของคณาจารย์นิเทศ
     1) เวลาที่คณาจารย์นิเทศใช้เพียงพอตามความจำเป็นของนักศึกษา
     2) การนิเทศของคณาจารย์นิเทศมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติสหกิจศึกษาของนักศึกษา
     3) การนิเทศของคณาจารย์นิเทศมีประโยชน์ต่อสถานประกอบการ
  4.6 กระบวนการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
นักศึกษา
     1) คุณภาพของการนำเสนอผลงาน : ความรู้ทางวิชาการ ทักษะการนำเสนอการตอบคำถาม
     2) การสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของการวัดและประเมินผลรายวิชาสหกิจ ศึกษา
การดำเนินงาน
     1) ร้อยละของคณาจารย์ที่เข้าร่วมการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  4.7 กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
นักศึกษา
     1) ต้องประเมินผลการปฏิบัติงานจากความสามารถในการทำงาน โดยสถานศึกษาต้องชี้แจง รายละเอียดและเกณฑ์ให้นักศึกษาทราบ
     2) ต้องมีสัดส่วนการประเมินผลของสถานประกอบการไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
     3) ผู้นิเทศงานควรให้ความคิดเห็นต่อจุดเด่นและข้อควรปรับปรุงของนักศึกษา
     4) นักศึกษาควรประเมินพัฒนาการของตนเองแต่การประเมินนี้ไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการวัด และประเมินผลของรายวิชาสหกิจศึกษา

การดำเนินงาน
     1) คณาจารย์นิเทศต้องแจ้งข้อมูลการวัดและประเมินผลให้นักศึกษาทราบ
     2) สถานประกอบการประเมินการประสานงานกับสถานศึกษาในภาพรวม

ที่มา : มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา ลิขสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสมาคมสหกิจศึกษาไทย จัดพิมพ์โดย สมาคมสหกิจศึกษาไทย พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2552