ประโยชน์ที่ทางสถานประกอบการจะได้รับ

1. ลดการจ้างงานและค่าตอบแทนลง โดยให้นักศึกษาสหกิจซึ่งมีความรู้ด้านวิชาการเพียงพอ ระดับหนึ่ง เข้าปฏิบัติงานทดแทนพนักงานที่ขาดไป หรือเป็นผู้ช่วยพนักงานและให้ค่าตอบแทนที่พอเหมาะกับลักษณะงาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามนโยบายของสถานประกอบการนั้น ๆ
2. มีนักศึกษาที่มีความกระตือรือร้นและมีความพร้อมทางวิชาการช่วยปฏิบัติ งานอย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลาที่ยาวขึ้นกว่าการฝึกงานปกติ คือ 17 สัปดาห์
3. พนักงานประจำจะมีเวลามากขึ้น ที่จะไปปฏิบัติงานในหน้าที่อื่นที่มีความยากและซับซ้อนยิ่งขึ้น
4. คณาจารย์กับนักศึกษาจะได้มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาให้กับสถานประกอบการ ซึ่งเป็นการลดภาระภายในองค์กร
5. เกิดความร่วมมือกันทางวิชาการระหว่างผู้บริหารสถานประกอบการกับคณาจารย์ของทางมหาวิทยาลัย อย่างต่อเนื่องตลอดไป
6. เป็นวิธีการหนึ่งในการสรรหาพนักงานประจำที่มีความรู้ความสามารถตรงกับ ตำแหน่งงาน โดยอาจลดเวลาในการสอนงานและเวลาในการทดลองงานลงได้
7. สถานประกอบการเป็นที่รู้จักมากขึ้นในด้านการให้ความร่วมมือด้านงานบริการกับมหาวิทยาลัย
8. เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสถานประกอบการและเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของ องค์กร ในด้านการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาและช่วยพัฒนาบัณฑิตของชาติ
9. สิทธิที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นกรณีพิเศษ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545