การประกันคุณภาพการดําเนินงานสหกิจศึกษา

         ตัวชี้วัดคุณภาพการดําเนินงานสหกิจศึกษาหมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในการดําเนินงานสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินคุณภาพการดําเนินงาน การกํากับดูแล และการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสหกิจศึกษา ใน 5 องค์ประกอบ โดยมีการกระจายนํ้าหนักของแต่ละองค์ประกอบดังนี้

องค์ประกอบ

นํ้าหนัก

1. หลักสูตรสหกิจศึกษา
1.1 มีระบบและกลไกในการพัฒนา และบริหารหลักสูตรสหกิจศึกษา

10

2. การเรียนการสอน
2.1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม การเรียนการสอนสหกิจศึกษา

20

3. กระบวนการนิเทศการปฏิบัติงาน
3.1 ระดับความสําเร็จของกระบวน การนิเทศการปฏิบัติงาน

20

4. ผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา
4.1 ร้อยละของโครงงาน/การ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาที่สถานประกอบการนําไปใช้ประโยชน์
4.2 ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับการ เสนองานจากสถานประกอบการที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ถ้ามีตําแหน่งงานว่าง

20


10

5. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
5.1 ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาสหกิจศึกษา ผู้นิเทศงาน และ คณาจารย์นิเทศ

20

รวม องค์ประกอบ 1-5

100

องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตรสหกิจศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 1.1 มีระบบและกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรสหกิจศึกษา เกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ

1. หลักสูตรมีความสอดคล้องกับเกณฑ์สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และองค์กรวิชาชีพในสาขาวิชาชีพควบคุม
2. จํานวนหน่วยกิตรายวิชาสหกิจศึกษาไม่ตํ่ากว่า 6 หน่วยกิตในระบบทวิภาค
3. ระยะเวลาปฏิบัติสหกิจศึกษาไม่ตํ่ากว่า 16 สัปดาห์
4. มีรายวิชาเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปสหกิจศึกษาหรือมีกระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปสหกิจศึกษาไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมง

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

มีการดําเนินการ ไม่ครบ 3 ข้อแรก

มีการดําเนินการ 3 ข้อแรก

มีการดําเนินการครบทุกข้อ

องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 2.1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริมการเรียนการสอนสหกิจศึกษา เกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ

1. มีการปฐมนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา
2. มีการกําหนดคุณสมบัติพื้นฐานและเงื่อนไขทางวิชาการของนักศึกษาสหกิจศึกษา
3. ลักษณะงานตรงตามสาขาวิชาชีพของ นักศึกษา
4. ลักษณะงานเป็นโครงงานหรืองานประจําที่เน้นประสบการณ์การทํางาน
5. มีการจัดค่าตอบแทนและสวัสดิการในอัตราที่มีความเหมาะสมและจําเป็นตามลักษณะงาน
6. มีกระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปสหกิจศึกษาให้มีความพร้อมต่อการประกอบ
อาชีพ
7. มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษา คณาจารย์นิเทศ และคณาจารย์สาขาวิชา
8. มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษา คณาจารย์นิเทศ คณาจารย์สาขาวิชาและผู้นิเทศงาน
9. มีการให้ข้อมูลลักษณะงานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกสถานประกอบการ
10. มีการพบปะระหว่างนักศึกษา สถานประกอบการ และคณาจารย์นิเทศก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

มีการดําเนินการ ไม่ครบ 7 ข้อแรก

มีการดําเนินการ 7 ข้อแรก

มีการดําเนินการมากกว่า 7 ข้อแรก

องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการนิเทศการปฏิบัติงาน
ตัวชี้วัดที่ 3.1 ระดับความสําเร็จของกระบวนการนิเทศการปฏิบัติงาน เกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ

1. มีแผนการนิเทศและการประสานงานตามมาตรฐานบังคับ
2. จํานวนการนิเทศไม่ตํ่ากว่า 1 ครั้ง ณ สถานประกอบการ
3. ผู้นิเทศงานของสถานประกอบการเป็นไปตามมาตรฐานบังคับ
4. การนิเทศของคณาจารย์นิเทศมีคุณภาพตรงตามความต้องการและความจําเป็นต่อนักศึกษาและสถาน ประกอบการ
5. คณาจารย์นิเทศตรวจรูปแบบการนําเสนอผลงานและให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษา
6. ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของสหกิจศึกษาคณาจารย์นิเทศเข้ารับฟังการนําเสนอผลการปฏิบัติงานของ นักศึกษาร่วมกับผู้นิเทศงานและผู้บริหารองค์กรและประเมินผลงานพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
7. ในช่วงระยะกึ่งกลางของสหกิจศึกษาคณาจารย์นิเทศเข้ารับฟังการนําเสนอความก้าวหน้าของโครงงานหรือ งานที่ปฏิบัติของนักศึกษาร่วมกับผู้นิเทศงานและให้ข้อเสนอแนะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

มีการดําเนินการ ไม่ครบ 4 ข้อแรก

มีการดําเนินการ 4 ข้อแรก

มีการดําเนินการมากกว่า 4 ข้อแรก

องค์ประกอบที่ 4 ผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละของโครงงาน/การปฏิบัติงานสห กิจศึกษาที่สถานประกอบการนําไปใช้ประโยชน์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

ร้อยละ 1 - 49

ร้อยละ 50 - 69

มากกว่า หรือเท่ากับ
ร้อยละ 70

ตัวชี้วัดที่ 4.2 ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับการเสนองานจากสถานประกอบการที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ถ้ามีตําแหน่งงานว่าง

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

ร้อยละ 1 - 49

ร้อยละ 50 - 69

มากกว่า หรือเท่ากับ
ร้อยละ 70

องค์ประกอบที่ 5 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 5.1 ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาสหกิจศึกษา ผู้นิเทศงาน และคณาจารย์นิเทศ โดยการสํารวจความพึงพอใจจะพิจารณา 5 ประเด็นหลักคือ

1. ความพึงพอใจในหลักสูตรสหกิจศึกษา
2. ความพึงพอใจในกระบวนการจัดสหกิจศึกษา
3. ความพึงพอใจในผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
4. ความพึงพอใจในการพัฒนาทักษะวิชาชีพและความพร้อมในการปฏิบัติงานจริง
5. ความพึงพอใจในการสร้างโอกาสการ ต่อยอดความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการกรณีที่มีการประเมินหลายครั้งในปีที่ประเมินให้หาค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของการประเมินทุกครั้ง

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

ระดับความพึงพอใจมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1 – 2.49

ระดับความพึงพอใจมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.50 – 3.49

ระดับความพึง พอใจมีคะแนน เฉลี่ยมากกว่า หรือเท่ากับ 3.50